ยินดีต้อนรับทุกคน สู่ห้องสนทนา 

“วงคุยเยาวชนสู่ Stockholm+50 : เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนของประเทศไทย”

ห้องสนทนานี้ถูกเปิดขึ้นเพื่อสร้างพื้นที่แลกเปลี่ยนมุมมอง ความคิดเห็น และความคาดหวัง ต่อแนวทางการขับเคลื่อนความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมรวมถึงการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย เพื่อนำไปประกอบการหารือระดับสูงระหว่างผู้นำจากแต่ละภาคส่วนในการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ที่กรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดนระหว่างวันที่ 2-3 มิถุนายน พ.ศ. 2565 และรวบรวมเป็นความเห็นเยาวชนไทยต่อการพัฒนางานด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนในการประชุมระดับชาติและเวทีนโยบายอื่นๆที่เกี่ยวข้องต่อไป

(เอกสารแนวคิดกิจกรรม: ไทย / English)

- - -

หัวข้อที่ 3 : การเร่งปฏิบัติตามพันธกรณีด้านสิ่งแวดล้อมในระดับสากล โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนภายในทศวรรษของการปฏิบัติ 

(Accelerating the implementation of the environmental dimension of Sustainable Development in the context of the Decade of Action)

โดยหัวข้อนี้มุ่งหาคำตอบในเรื่องเกี่ยวกับนโยบายและมาตรการสำคัญ (อาทิ การบริหารปกครองในทุกระดับ สถาบัน กรอบการดำเนินงาน และแผนปฏิบัติการที่มีความชัดเจนเกี่ยวกับความรับผิดชอบ ความเข้าถึงได้และสิ่งจูงใจ) ที่เกื้อหนุนการดำเนินงานตามพันธะระหว่างประเทศด้านสิ่งแวดล้อม (ได้แก่วาระการพัฒนา 2030 และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน การมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนดภายใต้ข้อตกลงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และแผนปฏิบัติการแห่งชาติที่สอดคล้องกับกรอบงานความหลากหลายทางชีวภาพของโลก หลังปี ค.ศ. 2020)

- - -

โปรดเลือกตอบ 1 คำถามหรือมากกว่า พร้อมระบุหมายเลขคำถามที่เลือกก่อนคำตอบในโพสต์ของตัวเองได้เลย และที่สำคัญ อย่าลืมกดปุ่ม “ความคิดเห็น” เพื่อส่งคำตอบกันด้วยนะ :) 

3.1  อะไรคือความท้าทายสำหรับเยาวชนในการลงมือแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอาหาศและส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพ สามารถแชร์ประสบการณ์ตรงของคุณได้เลย

3.2  อะไรคือสิ่งที่ต้องทำเพื่อส่งเสริมให้เยาวชนสามารถมีส่วนร่วมได้อย่างมีประสิทธิภาพในกระบวนการตัดสินใจเชิงนโยบายและการลงมือทำในระดับชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความหลากหลายทางชีวภาพ เทคโนโลยี กฎหมาย หรือหน่วยงานใดที่ควรได้รับการสนับสนุนและความร่วมมือจากเยาวชน

3.3  อะไรคือสิ่งที่ต้องลงมือทำอย่างเร่งด่วนเพื่อบรรลุเป้าหมายเมืองคาร์บอนต่ำและการอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างสอดคล้องปรองดองภายในปี 2573 (ค.ศ. 2030) เยาวชนสามารถทำอะไรได้บ้าง และอะไรที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่นๆ สามารถทำได้เพื่อสนับสนุนเยาวชน

- - -

มาร่วมกันชวนเพื่อน ๆ และเครือข่ายองค์กรที่เกี่ยวข้องเข้ามาร่วมต่อยอดบทสนทนากับพวกเรากันได้นะ ทางเราได้เตรียมโปสเตอร์และแคปชั่นสำหรับส่งต่อไว้ให้ Link นี้ พร้อมใส่ Hashtag #Stockholm50 #OnlyOneEarth #GlobalGoals และ #StoptheSame ได้เลย 

มาร่วมกันเปิดพื้นที่แลกเปลี่ยนและขับเคลื่อนงานด้านเยาวชนกับสิ่งแวดล้อมไปด้วยกัน!

 

Comments (2)

Kittikun Saksung
Kittikun Saksung Moderator

สวัสดีครับทุกคน  พี่ไบร์ทนะครับ ตอนนี้เป็นผู้ประสานงานเยาวชนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ UNDP Thailand และผู้ประสานงานเครือข่ายเยาวชนระดับโลกเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพ ประจำประเทศไทย (GYBN Thailand) จะเป็น moderator สำหรับห้องสนทนาในสัปดาห์แรกนี้นะค้าบ มีอะไรสงสัยแท็กชื่อถามได้เลย :)

หากใครที่เป็นมือใหม่สำหรับ SparkBlue สามารถเริ่มต้นจากการ 'sign up' เพื่อสร้างบัญชี แล้วเข้าลิงก์ห้องสนทนานี้ มากด 'Join' ที่ปุ่มด้านล่างสุดของหน้านี้เพื่อเข้าร่วมวงสนทนาและเริ่มแลกเปลี่ยนความเห็นในช่องข้อความแล้วกดปุ่ม 'Comment' เพื่อส่งข้อความได้เลยนะครับ 

For anyone with translation support needed, please find 'select your language' at the top right corner of this page to have an auto-translated message in your preferred language.

ห้องสนทนานี้จะเปิดจนถึงวันที่ 1 ก.ค. 65 นี้ ชวนเพื่อนๆ ในเครือข่ายของพวกเรามาร่วมแลกเปลี่ยนและต่อยอดไอเดียกันในห้องสนทนานี้กันได้เลยน้า เพื่องานด้านเยาวชนและสิ่งแวดล้อมที่ตอบโจทย์พวกเรากันมากยิ่งขึ้นนะค้าบ :)

hello

Jeta Jiranuntarat
Jeta Jiranuntarat

3.2: ปัจจุบัน กิจกรรมและกลุ่มทางสิ่งแวดล้อมของเยาวชนไทยมีความแตกกระจาย จะเป็นการให้ความสำคัญต่อปัญหาเชิงพื้นที่หรือประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมที่เจาะจง ทำให้ยากที่จะหาพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนที่เป็นของเยาวชนเองอย่างแท้จริง รวมถึงการสร้างเครือข่ายที่เข้าถึงทุกฝ่ายเพื่อร่วมมือกันสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ 

ผมคิดว่า สิ่งที่เยาวชนไทยสามารถเริ่มทำได้เลยคือการจัดกิจกรรมที่ทำให้เกิดช่องทางเสนอมุมมองและมีส่วนร่วมต่อนโยบายระดับชาติและสากลที่ชัดเจนและต่อเนื่อง ซึ่งความเป็นไปได้อันหนึ่งที่ผมเห็นคือการจัดงาน Local Conference of Youths (LCOY) ของไทยในแต่ละปี โดย LCOY นี้เป็นส่วนหนึ่งของ YOUNGO ที่เป็นฝ่ายเยาวชนด้าน climate change ของสหประชาชาติ ที่จะผลักดันความคิดของเยาวชนทั่วโลกสู่ COP ต่อไป

ซึ่งแม้ว่าความคิดจะจัดปีนี้จะมีความเร่งรัดสูง จากการที่จะต้องส่งใบสมัครภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2565 ที่จะถึงนี้ แต่ด้วยความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เช่นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนใหม่ที่ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของเยาวชน และมีนโยบายการจัดการก๊าซเรือนกระจกขององค์กรสู่ Net Zero ภายในปี 2573 หรือการที่องค์กรด้านนโยบายต่าง ๆ ในไทย อย่างสภาพัฒน์หรือ สผ. ได้เริ่มเปิดพื้นที่ให้เยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการร่างนโยบาย ผมคิดว่าการจัดกิจกรรมให้ประสบความสำเร็จจะทำให้เกิดประโยชน์ และเป็นจุดเริ่มต้นบทบาทการมีส่วนร่วมกำหนดนโยบายด้าน climate change อย่างเป็นรูปธรรมของเยาวชนไทย

 

ถ้าใครมีมุมมองแลกเปลี่ยนหรือสนใจที่จะมีส่วนร่วม ผมยินดีจะเสวนาผ่านช่องทางนี้หรืออีเมล [email protected] ต่อไปครับ

 

ตัวอย่างคำถามในใบสมัคร LCOY

https://docs.google.com/document/d/1j0rPYFkytCK7-bGdqXf4yG4TNkBApJCS7Qp…

ใบสมัคร LCOY ตัวจริง

https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSd1pXVT5N5IsDfSwOWCnKFyqztR2QA…