ยินดีต้อนรับทุกคน สู่ห้องสนทนา 

“วงคุยเยาวชนสู่ Stockholm+50 : เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนของประเทศไทย”

ห้องสนทนานี้ถูกเปิดขึ้นเพื่อสร้างพื้นที่แลกเปลี่ยนมุมมอง ความคิดเห็น และความคาดหวัง ต่อแนวทางการขับเคลื่อนความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมรวมถึงการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย เพื่อนำไปประกอบการหารือระดับสูงระหว่างผู้นำจากแต่ละภาคส่วนในการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ที่กรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดนระหว่างวันที่ 2-3 มิถุนายน พ.ศ. 2565 และรวบรวมเป็นความเห็นเยาวชนไทยต่อการพัฒนางานด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนในการประชุมระดับชาติและเวทีนโยบายอื่นๆที่เกี่ยวข้องต่อไป

(เอกสารแนวคิดกิจกรรม: ไทย / English)

- - -

หัวข้อที่ 2 : การบรรลุผลสัมฤทธิ์ของการฟื้นตัวจากสถานการณ์โควิด-19 อย่างทั่วถึงและยั่งยืน 

(Achieve a sustainable and inclusive recovery from the COVID-19 pandemic)

โดยหัวข้อนี้มุ่งหาคำตอบในเรื่องการฟื้นฟูและสร้างสรรค์สังคมจากสภาวะและผลกระทบของสถานการณ์โควิด-19 ที่มีต่อประชาชน สิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ และความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ ตลอดจนการกลับเข้าสู่ทิศทางที่เป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนภายใต้วาระการพัฒนา 2030 (Agenda 2030) โดยให้ความสำคัญกับการปรับตัวของระบบการเงิน มาตรการทางสังคมเพื่อปกป้องเศรษฐกิจนอกระบบ นโยบายเศรษฐกิจหมุนเวียน และการผลิตและบริโภคอย่างยั่งยืน รวมถึงกระบวนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ในการสร้างงาน ทักษะ และเพิ่มพูนศักยภาพ เพื่อให้สังคมในทุกประเทศสามารถเข้าสู่ช่วงเปลี่ยนผ่านอย่างเป็นธรรม โดยเฉพาะกลุ่มคนยากจนและเปราะบางมากที่สุด

- - -

โปรดเลือกตอบ 1 คำถามหรือมากกว่า พร้อมระบุหมายเลขคำถามที่เลือกก่อนคำตอบในโพสต์ของตัวเองได้เลย และที่สำคัญ อย่าลืมกดปุ่ม “ความคิดเห็น” เพื่อส่งคำตอบกันด้วยนะ :) 

 

2.1 จากผลกระทบของโรคระบาดโควิด19 คุณเห็นแนวทางการแก้ไขปัญหาใดที่ควรได้รับการส่งเสริมพัฒนาต่อยอด หรือปรับปรุงเพื่อให้การฟื้นตัวทั้งคนและสิ่งแวดล้อมหลังสถานการณ์หลังโควิด19 เป็นไปได้อย่างเหมาะสม ยั่งยืน ครอบคลุมทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยอาจเป็นสิ่งที่ดำเนินโดย ภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม บุคคล เมือง เพื่อกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบ เช่น เยาวชนและคนต่างรุ่น กลุ่มชาติพันธ์ ผู้พิการ และอื่นๆ

2.2 อะไรคือสิ่งที่ภาครัฐ ภาคอุตสาหรกรรม ธุรกิจตลอดซัพพลายเชน ควรทำเพื่อส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนผ่านหลังโควิด19 เป็นไปอย่างยุติธรรมและนำไปสู่เศรษฐกิจที่ยั่งยืนได้ดียิ่งขึ้น ภาคอุตสาหกรรมใดที่มีส่วนสำคัญ และประเด็นใดที่ภาคธุรกิจรวมถึงการเงินและการลงทุนควรให้ความสำคัญในการร่วมสร้างความรับผิดชอบที่นำไปสู่การฟื้นตัวที่ยั่งยืน

2.3 อะไรคืองานสีเขียวที่ดีและควรส่งเสริมมากขึ้นในอนาคต อะไรคือทักษะใหม่ที่จำเป็น และอะไรเป็นสิ่งที่ต้องการจากภาครัฐ ภาคธุรกิจ และวิชาการ เพื่อส่งเสริมให้ทั้งเยาวชนและคนต่างรุ่นสามารถเข้าถึงและได้รับการสนับสนุนสู่การสร้างรายได้หรือทำอาชีพที่ส่งเสริมเศรษฐกิจสังคมสีเขียวและยั่งยืนได้ดียิ่งขึ้น





 

Comments (1)

Nitchakan Daramatat
Nitchakan Daramatat Moderator

สวัสดีค่ะ น้องๆเยาวชนทุกคน
พี่กาเด้จะเป็น moderator สำหรับหัวข้อนี้
ขอเชิญชวนน้องๆเยาวชนมาร่วมแชร์กันถึงมุมมองต่อการฟื้นตัวต่อสถานการณ์โควิดกันค่า :)